วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

การสแกนเรดาร์แบบ Hybrid scan

การสแกนเรดาร์แบบ  Hybrid scan
2014.01.04

ปรกติแล้วเรดาร์จะมีหลายมุมยก โดยจะทำการกวาดข้อมูลในแต่มุมยกใช้เวลากวาด14มุมยก ประมาณ5-8นาที ซึ่งจะทำการกวาดข้อมูลในระบบพิกัดโพลาร์จนครบวงกลมหนึ่งรอบถึงจะเปลี่ยนไปกวาดข้อมูลในมุมยกที่สูงขึ้นไป แต่เนื่องจากในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทำให้มีปัญหาใหญ่มากๆของการเรดาร์ ในเรื่องของบีมถูกบดบัง ซึ่งบีมเหล่านั้นจะมีค่าการสะท้อนไม่เป็นจริง ดังนั้นจึงมีการคิดค้นวิธีการเลือกใช้ข้อมูลเรดาร์ให้ใกล้พื้นผิวโลกที่สุดของแต่ละมุมที่เรียกว่า Hybrid scan เพื่อให้ได้ค่าการสะท้อนของเรดาร์ใกล้ผิวพื้นมากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงบีมที่กระทบผิวโลกใกล้ๆตัวสถานีเรดาร์(Ground clutter)  โดยมีการกำหนดเกณฑ์ของบีมที่ถูกบังด้วยภูเขา เช่น ในแต่ละช่วงบีมนั้นๆต้องมีบีมที่ไม่ถูกบดบังด้วยภูเขามากกว่า 60% หากบดบังมากกว่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนไปใช้บีมในมุมยกที่สูงกว่า ประโยชน์ของการใช้วิธีการนี้ก็คือ ได้ค่าการสะท้อนที่ปราศจากการสะท้อนของภูมิประเทศ นำไปสู่การประมาณค่าปริมาณน้ำฝนที่จะทำให้ได้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด ซึ่งก็ยังมีค่าความผิดพลาดอื่นๆเหลืออยู่รอให้ปรับแก้ต่อไป


http://www.cimms.ou.edu/~langston/hybridscan/WhatIsHybScan.html


ในภาพจะเห็นว่าช่วงบีมสีเขียวจะถูกเลือกเพื่อนำมาเป็นข้อมูลค่าสะท้อนจากเรดาร์ใกล้ผิวโลก ประเทศไทยมีตัวอย่างเรดาร์ที่ใช้ระบบนี้ก็คือ เรดาร์ที่จังเพชรบูรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น