วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

QGIS คู่มืออย่างเป็นทางการพร้อมการเขียน Python

2015.05.14
ผมลองๆหาคู่มือที่น่าสนใจของ QGIS เพื่อจะได้ประกอบการเรียนการสอนทางด้าน GIS ที่จะได้เปลี่ยนมาใช้ซอฟท์แวร์รหัสเปิดในการเรียนการสอนแก่นิสิตทุกสาขาที่สนใจในศาสตร์ทางพื้นที่ ก็ไปเจอคู่มือของทางหน่วยงาน QGIS ที่เป็นทางการเลย (จริงๆน่าจะอ่านชุดนี้ตั้งนานแล้ว) ดังนี้
1. คู่มือเรี่ยนรู้ QGIS อย่างเป็นทางการ 
2. คู่มือโปรแกรม QGIS 
3. การเขียน python ใน QGISเพื่อนักพัฒนาโดยเฉพาะ
4. คู่มือติวเตอรเรียล มีเนื้อหาประกอบในทดลองทำครอบคลุมหลายประเด็น
5. เวิร์คช้อปในการสร้างปลั๊กอินด้วย Python

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลักสูตรMGIS Online ของ Pennstate

2015.May.10
หลักสูตร MGIS Geospatial education ของ Pennstate เป็นหลักสูตรที่ถูกพัฒนาโดยกลุ่มอาจารย์ทางด้านภูมิศาสตร์ผู้มีประสบการณ์และความสนใจในศาสตร์ของ Geospatial ซึ่งความโดดเด่นคือ มีการพัฒนาวิชาที่เจาะลึกลงไปมากในแต่ละเรื่องของ GIS แตกแขนงออกไปมากกว่า 50 รายวิชา แต่ละวิชาจะใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 10  สัปดาห์ พร้อมมีแบบฝึกหัดออนไลน์ในบางวิชาที่ผู้สนใจสามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง แต่หากต้องการจะเข้าถึงแบบฝึกหัดของทุกรายวิชาจะต้องลงทะเบียนเป็นนักศึกษา โดยที่รหัสวิชาจะเป็นรหัส 4xx และ 5xx หมายความว่าเป็นรายวิชาขั้นสูงที่แตกมาจากรายวิชาภูมิศาสตร์ เพราะภูมิศาสตร์จะมีกลุ่มวิชาหลักๆก็คือ ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์ แล้วก็เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ซึ่งกลุ่ม GIS ถือว่าเป็นวิชาในกลุ่มเครื่องมือของภูมิศาสตร์หากมองในแง่หลักสูตรของภูมิศาสตร์ซึ่งหากจะแตกแขนงไปอีกก็จะมีในเรื่องของ Geometics ที่ถือว่าจะคาบเกี่ยวกับ GIS แต่จะเน้นไปทางวิศวกรรมสำรวจและคอมพิวเตอร์ เช่น Photogrammetry, Remote sensing, DIP, GPS, Cartography

กลับมาที่หลักสูตร MGIS ของ Pennstate  หลักๆจะเน้น GIS แต่คณาจารย์ผู้สอนจะมีพื้นฐานหลากหลายทั้ง GIS Developper, Geodatabase, Web mapping, Cartography, GPS, GIS Analysis เป็นต้น โดยจะมีแบบฝึกหัดให้ทำพร้อมโปรเจกค์ ซึ่งรายวิชาเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อผู้สนใจที่มีความรู้พื้นฐาน GIS เบื้องต้นเช่นนิสิตภูมิศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อมองลงไปเนื้อหาในแต่ละบทแล้วจะเห็นว่าลึกมาก ซึ่งล้ำหน้ามากในตลาดงานด้าน GIS Developper ในปัจจุบันของประเทศเรา  แม้ว่าเรื่องซอฟท์แวร์รหัสเปิดกำลังมาแรงในโลกปัจจุบันรวมถึงบ้านเรา แต่ทางคณาจารย์ผู้พัฒนาหลักสูตรยังยึดแนวทางหลักบนพื้นฐานของ ESRI โดยมองในเรื่องพื้นฐานและแนวคิดเป็นหลักก่อนจะเดินไปสู่ทางเลือกของซอฟท์แวร์รหัสเปิด รายวิชาที่น่าสนใจสำหรับผมมีหลายวิชา แต่จะเอามาแนะนำดังข้างล่างนี้เท่านั้น

1. GEOG 483: Problem-Solving with GIS
เป็นโปรเจกค์แต่ละสัปดาห์ให้ใช้ GIS ในการแก้ปัญหา เช่นการหาพื้นที่เหมาะสม การวิเคราะห์เส้นทางพายุทอนาโด เป็นต้น ในแต่ละโปรเจกค์นิสิตจะได้เรียนรู้ความสามารถของ GIS ในการแก้ปัญหา

2. GEOG 485: GIS Programming and Automation
การโปรแกรมใน GIS เพื่อแก้ปัญหา ใช้ Python ของ ARCGIS ในการสอน 10 สัปดาห์

3. GEOG 489: GIS Application Development
การโปรแกรม GIS ซึ่งลึกต่อเนื่องจากข้อ 1 ใช้ Arcobjects

4. GEOG 484: GIS Database Development
การพัฒนา Geodatabase

5. GEOG 481: Topographic Mapping with Lidar
การใช้ Lidar เพื่องานสำรวจแต่จะถูกโยงเข้ามาใน GIS

6.GEOG 862: GPS and GNSS for Geospatial Professionals
สอนโดย Dr.Jan Van Sickle ผู้มีชื่อเสียงจากหนังสือหลายเล่มเช่น Basic GIS Coordinates, GPS for Land Surveyors
หลักสูตรบ้านเราควรดูเป็นตัวอย่างเพื่อตามให้ทันผู้นำวงการศึกษา GIS โลกที่อเมริกาก็เป็นหนึ่งในนั้น

QGIS แบบเรียนโปรแกรมพร้อมภาคปฎิบัติ

2015.05.10
ซอฟท์แวร์รหัสเปิดเข้ามามีบทบาทต่อวงการภูมิสารสนเทศของประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากปัญหาราคาของซอฟท์แวร์ QGIS เป็นซอฟท์แวร์รหัสเปิดที่มีการนำมาเผยแพร่ในประเทศไทย มีคู่มือภาษาอังกฤษที่ดี พร้อมแบบฝึกหัดออนไลน์ที่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เมื่อปลายเดือนเมษายน ผมมีโอกาศอันดีที่ได้ใช้ QGIS เพื่อฝึกอบรมครูสอนภูมิศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเป็นความร่วมมือของคณาจารย์ในสาขาภูมิศาสตร์ ซึ่งอันที่จริงได้ทำการอบรมด้วย QGIS หลายปีแล้ว แต่ผมเพิ่งกลับจากเรียนป.เอก ซึ่งก็ไม่ได้ใช้หรือเกี่ยวข้องกับ GIS เลย ทำให้เหมือนหยุดพัฒนาความรู้ตัวเองด้าน GIS มา4-5 ปีเลย เมื่อมองกลับมาปัจจุบัน มีกลุ่มนักพัฒนาระบบ GIS เพิ่มขึ้นมากในบ้านเรา ทำให้ศาสตร์ด้านนี้มีชีวิตชีวาขึ้น

ผมใช้ Tutorial online ของคุณ Ujaval Gandhi ในการเรียนรู้ QGIS เพื่อเตรียมสอนและอบรมครู ซึ่งเป็นแบบเรียนที่มีตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนขั้นสูงในเรื่องการใช้งาน ศึกษาได้จากที่นี่