วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงข่ายเรดาร์ตรวจอากาศของประเทศต่างๆ

หากในปี 2011 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบเรดาร์ตรวจอากาศที่มีการบำรุงรักษาที่ดี (จริงๆเรามี20 กว่าสถานีแต่เก่ามากๆ ไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน การเก็บข้อมูลก็แค่ชั่วโมงละครั้ง ไม่เหมือนกับฝนหลวงที่ได้มาตรฐานทัดเทียมประเทศพัฒนาแล้ว) และถ้าหากมีการเก็บบันทึกข้อมูลที่ถี่กว่าที่เป็นอยู่ ให้เป็น 5 นาทีต่อครั้ง บวกกับข้อมูลน้ำฝนอัตโนมัติที่มีอยู่พันกว่าสถานี ประเทศเราน่าจะมีข้อมูลที่ได้มาตรฐาน ช่วยในการตัดสินใจต่อการบริหารน้ำได้อีกทาง  ผลักให้เป็นวาระแห่งชาติดีไหม ทุ่มงบตั้งหน่วยงานเก็บข้อมูลด้านนี้โดยเฉพาะเลยดีไหม  เพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนและงานวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาและเรื่องน้ำ แต่จริงๆก็มีอยู่แล้วสองสามหน่วยงานที่เห็น แต่พอเกิดเหตุภัยพิบัติไม่มีใครถามหรอกว่ามีหน่วยงานนู้นนี่ แต่ที่อยากรู้คือน้ำจะท่วมไหม ท่วมเมื่อไหร่ ท่วมที่ไหน จะทำอย่างไรไม่ให้ท่วม ถ้าท่วมแล้วจะจัดการยังไง จะไปอยู่ตรงไหน จะลดเมื่อไหร่ เสียหายเท่าไหร่ ตรงไหนบ้าง นั่นต่างหากที่สำคัญต่อประชาชน แต่ถ้าเป็นนักวิชาการก็จะสนใจว่าทำไมมันถึงเกิด เกิดได้อย่างไร ผมมีตัวอย่างประเทศที่มีกรมอุตุเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่งานด้านอุุตุนิยมวิทยาก้าวไปไกลแล้วครับ แต่ผมไม่โทษกรมอุตุเพราะผมทราบว่ากรมอุตุงานล้นมือมากแล้วก็ขาดการสนใจจากผู้ใหญ่ด้วย ทิ้งให้ทำงานตามมีตามเกิดมานาน ต้องช่วยกันทุกคนให้มีข้อมูลด้านนี้มาใช้อำนวยประโยชน์ให้กับประเทศเราให้ได้ แล้วต้องมีการบำรุงรักษา พร้อมทั้งพัฒนาให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศอย่าหยุดนิ่ง ไม่งั้นโดนแซงครับ โดนแซงด้วยภัยพิบัตินี่แหละที่น่าเป็นห่วงที่สุด



ประเทศมาเลเซียไปไกลแล้วนะครับ มีโครงข่ายเรดาร์เป็นแผนที่เรียบร้อยแล้วดูได้ที่นี่
ประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึง ดูได้ที่นี่
ส่วน Nexrad ของอเมริกานี่ก็สุดยอดครับ โมเสคทั้งประเทศเลย ดูได้ที่นี่
ส่วนของแคนาดาก็มีนะครับ ดูได้ที่นี่
แล้วก็ยังมีรวมกันของอเมริกาและแคนาดาด้วย ดูได้ที่นี่
สหราชอณาจักร ก็เป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาของโลกครับ ดูได้ที่นี่
ของประเทศฝรั่งเศสก็สวยดีเป็นแอนิเมชั่นเลย ดูได้ที่นี่ครับ
ของประเทศเยอรมันก็มีครับ ที่นี่
ของประเทศนอรเวย์ครับ ที่นี่
ผมชอบของออสเตรเลียมากที่สุดครับ ดูได้ที่นี่
ของประเทศไต้หวันครับ ที่นี่

ส่วนลิงค์กรมอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกเข้าดูได้ที่นี่

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ตรวจสอบความถูกต้องของ GoogleMap

ผมไปอ่านเจอเวบบอร์ดคุยกันเรื่องตรวจสอบความถูกต้องของ GoogleMap  ของพื้นที่แวนคูเวอร์ แคนาดาโดยคนโพสต์ก็ไม่แน่ใจว่าทำถูกหรือไม่แต่ก็ใช้ GPS Handheld ธรรมดาแต่เปิด WAAS ซึ่งความถูกต้องของจีพีเอสนี้ก็น่าจะอยู่ที่ต่ำกว่า 3 เมตร แต่พอเช็คกับGoogleMap  แล้วพบว่าบางจุดใกล้เคียงกัน 5 เมตร บางจุด 30 เมตร เค้าก็เลยสงสัยว่าวิธีเค้าเชื่อได้ขนาดไหน ก็มีนักสำรวจมาให้คำตอบพร้อมอธิบายมากมาย เช่น บอกว่าน่าจะใช้ DGPS ที่ใช้ Base and Rover แล้วค่อยไป Postprocess จากนั้นจะได้ Checkpoints แล้วค่อยมาทำการหาค่า RMSระหว่างจุด Checkpoints กับ จุด Google น่าจะดีกว่า แต่ก็ยังมีคำอธิบายอื่นๆน่าสนใจอยู่เยอะครับ ลองอ่านดู



1. ที่นี่
2.ที่นี่ด้วย
3.มีลิงค์หนังสือด้วยเรื่อง Map Scripting 101 เป็นหลักการทำแผนที่บนเวปครับ ที่นี่

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแบบ DGPS

หลักการของ DGPS  ก็คือว่า ถ้าจีพีเอสสองตัวอยู่ในระยะที่ใกล้กัน2-300 กิโลเมตร จะต้องมีค่าความผิดพลาดที่เกิดจากชั้นบรรยากาศ วงโคจร สัญญานนาฬิกาบนดาวเทียมและเครื่องรับ รวมทั้งความคลาดเคลื่อนอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อเอาจีพีเอสหนึ่งตัวไปวางไว้ ณ ตำแหน่งที่ทราบค่า เช่น หมุดของกรมที่ดินเรียกว่า Base GPS หรือ กรมแผนที่ทหาร แล้วให้เอาจีพีเอสอีกหนึ่งตัวที่ต้องการวัดค่าตำแหน่งของวัตถุใดๆในสนามไปวางไว้ณตำแหน่งที่ต้องการทราบค่าเรียกว่า Rover GPS จากนั้นทำการบันทึกข้อมูลสัญญานที่ได้รับทั้งสองตัว เพื่อนำไปปรับแก้หลีงจากทำการรังวัดตำแหน่งเสร็จในสำนักงานอีกครั้ง

หรือ หากมีสถานีที่ทราบค่าพิกัดแน่นอนแล้วให้บริการส่งสัญญานวิทยุส่งค่าปรับแก้ให้กับตัว Rover ก็จะปรับแก้ความถูกต้องเชิงตำแหน่งณเวลานั้นๆได้แบบเรียบไทม์ เรียกว่า RealTimeDGPS ที่ให้ค่าความถูกต้องระดับเซนติเมตร หรือ มีตัว Base กับ Rover แล้วทำอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อรับสัญญานวิทยุเพื่อปรับแก้ตัว Rover



อ่านเพิ่มเติม
1. ESRI
2. DGPS
3. GPS ดีมากๆ 
4. Trimble tutorial มีแอนิเมชั่นให้ดูด้วยครับ

ระบบปรับแก้จีพีเอส WAAS

ระบบปรับแก้จีพีเอส Wide Area Augmentation System (WAAS) เป็นระบบปรับแก้ความถูกต้องของจีพีเอสให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นของสหพันธ์การบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เครื่องบินใช้ในการนำร่องให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น ประกอบไปด้วยสามส่วนเช่นกัน คือ ส่วนภาคพื้นดิน ส่วนอวกาศ และส่วนผู้ใช้ โดยจะรับสัญญานจากที่สถานีหลักของอเมริกาเหนือ และที่ฮาวาย จะนั้นจะส่งค่าความแตกต่างของเวลา ค่าความแตกต่างสัญญานเพื่อนำไปปรับแก้ความถูกต้องเชิงตำแหน่ง ไปที่สถานีที่กระจายอยู่ทั่วอเมริกาเหนือเพื่อทำการปรับแก้อีกครั้งก่อนส่งข้อมูลหลังการปรับแก้ให้สองสถานีที่อยู่คนละฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือเพื่ออัพโหลดข้อมูลปรับแก้ไปสู่ดาวเทียม เพื่อทำการกระจายค่าปรับแก้ให้กับผู้ใช้


ระบบนี้มีใช้ในอเมริกาความถูกต้องแนวราบน้อยกว่าสามเมตร มีใช้เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ของยุโรปก็มีระบบนี้เช่นกันแต่เรียกอีกอย่าง EGNOS  ของญี่ปุ่นจะเรียกว่า MSAS  ของอินเดียเรียกว่า GAGAN

อ่านเพิ่มเติม
1. ความแตกต่างระหว่าง WAAS and EGNOS
2. What is WAAS?

อ่าน Shipborne radar

อ่าน Shipborne radar ได้ที่นี่

อ่าน Presentation at Airborne Doppler Radar Data Analysis

อ่านได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

รวมเปเปอร์วิจัยด้านเรดาห์และอุตุนิยมวิทยาของ prof.houze

อ่านได้ที่นี่
เรื่อง TRMM ที่ใช้ศึกษา Hurricane อ่านได้ที่นี่

แปลงพิกัดเรดาร์จาก polar to cartesian Ncar sprint

SPRINT is a program to interpolate radar measurements taken at spherical
coordinates (range, azimuth, and elevation) to regularly-spaced Cartesian or
longitude-latitude grids, in either constant height or constant elevation angle
surfaces. Itaccepts radar data in any of the ATD field, univeral, DORADE, or
NEXRAD Level II formats. SPRINT outputs interpolated data in pure binary format
readable by CEDRIC. A description of the CEDRIC binary format can be found in
Appendix D of the documentation for SPRINT or CEDRIC. Data from PPI scans can
be interpolated to Cartesian or longitude-latitude grids, either at constant
height or constant elevation angle surfaces. Both airborne helical scans and
constant-azimuth (RHI) scans from ground-based radars are only interpolated to
Cartesian grids (X, Y, and Z). 


ดาวน์โหลดได้ที่นี่

เปเปอร์ของโปรเฟสเซอร์ Houze at woshington university ที่นี่

 

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

แคลคูลัสเบื้องต้นบนยูทูป

บนยูทูปมีอาจารย์ท่านหนึ่งชื่อ McKeague สอนแคลคูลัสดีมากๆ จาก MathTV ดูที่นี่
แต่ที่ชอบรองลงมาก็คือ อาจารย์ derekowens ดูได้ที่นี่ สอนหลักการอินทริเกรท ดิฟ 
ส่วนอาจารย์อีกคน  patrickJMT  สอนดีเหมือนกันแต่มือจะบังหน่อย ดูที่นี่


คณิตศาสตร์แคลคูลัส multivariable calculus

คณิตศาสตร์แคลคูลัส multivariable calculus ของโปรเฟสเซอร์ George Cain & James Herod ของมหาลัย Gorgia Institute Technology มีหลายเรื่องที่น่าสนใจ Integration of three dimension, The Directional Derivative, Maxima and Minima อ่านได้ ที่นี่ ครับ

แต่อ่าน ที่นี่ ดีกว่า ของ Dept. of Math., East Tennessee State University เปิดใน IE เท่านั้น มีตัวอย่างชัดเจนพร้อมรูปภาพ เรื่อง The Polar Coordinate Transformation ใช้บ่อยกับเรดาห์ และเรื่อง Integration in polar coordinate  เรื่อง Spherical coordinate

อ่านแคลคูลัสได้ที่นี่

ยูทูป MIT multivariable calculus ดูได้ที่นี่

หนังสือคณิตศาสตร์ทุกประเภทฟรีออนไลน์

หนังสือคณิตศาสตร์ทุกประเภทฟรีออนไลน์ เขียนโดยโปรเฟสเซอร์ชื่อดังของภาควิชาคณิตศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งความรู้คณิตศาสตร์ สุดยอดดด ครับ โมทนาสาธุด้วยคน ดาวน์โหลดไปอ่านกันได้ ที่นี่

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา Numerical analysis

ผมจำเป็นต้องใช้หลังการคำนวณแบบ Numerical analysis ในการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการวัดปริมาณน้ำฝนจากเรดาห์ ทำให้ต้องเรียนรู้วิธีการคำนวณและหลักการ ที่จะปรับใช้กับงานผมได้ ก็ได้เจอเอกสารของโปรเฟสเซอร์ Amos ron ของ then unisversity of Wisconsin medison อ่านได้ ที่นี่ มีตัวอย่างเอกสารการสอน โค้ดแมทแลป แบบฝึกหัด



วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

การใช้กล้องดิจิตอลธีโอโดไลท์

ดูยูทูปวิธีการใช้กล้องดิจิตอลธีโอโดไลท์เพื่อวัดมุม ที่นี่

หลักการถ่ายโอนค่าระดับ Leveling surveying

ดูยูทูปตัวนี้แล้วก็ทำให้คิดถึงการทำโปรไฟล์ค่าระดับตอนเรียนวิชาการสำรวจ ศึกษาได้ที่นี่


ถ้าอยากจะระลึกถึง สมุดฟิลด์ ดูได้ที่นี่





การใช้เข็มทิศเดินป่า

  1. ยูทูปสอนการใช้เข็มทิศเดินทางตามแผนที่โดยเซตมุมแบริ่ง น่าสนใจมาก ที่นี่ 
  2. ดูยูทูปคลิปนี้ เข้าใจได้ง่ายมากๆ ที่นี่
  3. ยูทูปสอนวิธีการเซตแบริ่งไปยังเป้าหมายที่ต้องการเดินทางไปในแผนที่ โดยต้องรู้ว่าจุดที่เราอยู่แล้วจุดที่จะไปนั้นอยู่ตรงไหนของแผนที่ แล้วจึงเซตมุมแบริ่ง โดยวางเข็มทิศให้ขนานกับทิศทางที่จะไป จากนั้นหมุนหน้าปัดเข็มทิศให้เส้นของเข็มทิศขนาดกับเส้นโครงแผนที่ หลังจากขั้นตอนนี้เราจะได้ทิศของแบริ่งที่เข็มทิศชี้ไปยังพื้นที่ที่จะไป  แล้วให้เดินไปตามแบริ่งที่เราตั้งไว้ไปยังเป้าหมาย ดูวิธีที่นี่
  4. ยูทูปอีกหนึ่งตัวอย่างการใช้แผนที่ เข็มทิศ นำทางไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะไป โดยเราต้องรู้ว่าจุดที่เราอยู่กับจุดที่จะไป อยู่ตรงไหนของแผนที่ แล้วจึงเซตมุมแบริ่ง ศึกษาได้จากที่นี่
  5. การใช้เงาของดวงอาทิตย์ในการหาทิศทาง ใช้ได้จริงในป่า แต่ต้องระวังว่าตำแหน่งของอเมริกาอยู่ละติจูดกลาง ส่วนตำแหน่งของประเทศไทยอยู่เขตศูนย์สูตร ดวงอาทิตย์บ้านเราจะเอียงไปทางตะวันตก แต่พอใกล้เที่ยงจะหดสั้นเข้า พอบ่ายๆจะเอียงไปทางตะวันออก ศึกษาได้ที่นี่



การสำรวจและทำแผนที่ด้วย plane table

การสำรวจด้วย plane table

วันนี้ผมคิดถึงวิชาการทำแผนที่ ด้วยเครื่องมือพื้นฐานคือ  plane table ก่อนที่จะไปเรียนวิชาสำรวจด้วยกล้องโทเทลสเตชั่นที่คณะวิศวกรรม ตอนนั้นทำไปก็คอยจับไม่ให้แผ่นกระดานไม้กระดก
หากสนใจลองดูยูทูปกระบวนการจากการสำรวจโบราณคดีด้วย plane table ของหน่วยงานของประเทศสก็อตแลนด์อธิบายที่ละขั้นตอน ที่นี่
หรือหากใครสนใจเวอร์ชั่นอินเดีย ศึกษาได้จากอาจารย์อินเดีย ที่นี่
นี่ก็เป็นการอธิบายทฤษฎีการทำแผนที่ด้วย plane table ของอาจารย์อินเดีย ฟ้งยากหน่อย แต่ก็เข้าได้ไม่ยาก ที่นี่ 

ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยเห็นนักศึกษาทำการสำรวจและทำแผนที่วิธีนี้แล้ว แต่มันก็เป็นพื้นฐานได้เป็นอย่างดีในงานสำรวจ หากไม่มีอุปกรณ์

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

การทำแผนที่ทางทะเล

เอกสารการทำแผนที่ทางทะเล ของหน่วยงาน FAO มีหัวข้อสำคัญมากมายในการทำแผนที่ เช่น Map classification, scale and projection, Map design, Aerial photo and their interpretation, color basic, case studies อ่านได้ที่นี่ครับ

หลักการสำรวจด้วยจีพีเอส

แหล่งความรู้วิชาการสำหรับการใช้งานจีพีเอสในการสำรวจ
 
มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวล มีเอกสารการสอนในรายวิชา GPS surveying น่าสนใจมากครับ อ่านได้ที่นี่
Natural resource canada RTK( real time kinematic ) อธิบายการ base and rover ที่ให้ค่าความถูกต้องระดับเซนติเมตร อ่านได้ที่นี่
NOAA จีพีเอสเพื่อการสำรวจ อ่านได้ที่นี่

รวมความรู้จีพีเอสเบื้องต้น

จีพีเอสมีการใช้หลากหลายในยุคปัจจุบัน หากอยากรู้พื้นฐานการทำงาน ระบบของจีพีเอส การปรับแก้ความถูกต้อง หรือความรู้การใช้งานเบื้องต้นตามลิงค์ข้างล่างเลยครับ



มหาลัยเทนเนสซี่ รวมลิงค์หลายประเภท ทั้งคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อ GPS tutorial  อ่านได้ ที่นี่
โปรแกรม DNRGPS สำหรับติดต่อกับจีพีเอสการ์มิน ฟรี ที่นี่
ความรู้เบื้องต้นอย่างละเอียดของ Trimble ที่นี่
ความรู้เบื้องต้นเช่นกันจาก Gps.gov ที่นี่

ความรู้เรื่องไลดาร์ Lidar ภาคต่อ

ของมหาลัยไอดาโฮ เขียนเรื่องความรู้ไลดาร์เบื้องต้นเข้าใจง่ายมากครับ โดย Jeffrey S. Evans & Andrew T. Hudak อ่านได้ ที่นี่


Frequency of asks เรื่องไลดาร์ อ่านได้ที่นี่
รวมลิงค์ความรู้เรื่องไลดาร์ ซอฟท์แวร์ แหล่งดาวน์โหลดข้อมูล อ่านได้ที่นี่

ความรู้เรื่องไลดาร์ Lidar

ความรู้เรื่องไลดาร์ Lidar
ผมไปเจอลิงค์ของ Dr. Bharat Lohani   เขียนความรู้เกี่ยวกับข้อมูลไลดาร์ เกี่ยวกับหลักการเบื้องต้น คณิตศาสตร์ของข้อมูลไลดาร์ เซนเซอร์ การประยุกต์ใช้
เข้าไปอ่านได้ ที่นี่

ความรู้เรื่องรีโมทเซนซิ่ง

ความรู้เรื่องรีโมทเซนซิ่ง ของ Natural resource canada มีให้ Tutorial ที่ให้ความรู้ทั้งเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลภาพดาวเทียม และรวมไปถึงไมโครเวฟรีโมทเซนซิ่ง


ความรู้เรื่องเรดาห์

Natural resource canada มีความรู้เรื่องรีโมทเซนซิ่งให้ได้ศึกษามากมาย เรื่องความรู้เรดาห์ก็ทำเอกสารได้อย่างดี สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารกว่า 900 หน้า ได้ที่นี่

หากไม่อยากดาวน์โหลดก็ลองอ่าน Tutorial ได้

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

เกมส์สันทนาการแผนที่สนุกๆครับ

กิจกรรมเรียนรู้ภูมิศาสตร์ผ่านแผนที่ เช่น แกะรอยโจรสลัด แทร็คเส้นทางเฮอริเคน อ่านได้จากลิงค์นี้

หลักการอ่านแผนที่เบื้องต้นและเข็มทิศ

หลักการอ่านแผนที่เบื้องต้น

ผมอ่านไปอ่านเจอหลักการแผนอ่านและใช้แผนที่เบื้องต้นของมหาลัยปรินซ์ตัน ทำให้สะกิดความหลังตอนเรียนวิชาแผนที่สมัยเมื่อครั้งยังหนุ่ม อ่านแล้วาก็ได้ความรู็เบื้องต้นที่ครบถ้วนดี ทั้งการอ่านและการใช้แผนที่ เข็มทิศ


อ่านได้จากที่นี่

 สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย การใช้แผนที่ภูมิประเทศ ชัดเจน โดย ท่าน พ.อ.ศุภฤกษ์ ชัยชนะ

อีกแหล่งความรู้การอ่านแผนที่ภูมิประเทศ

ลิงค์นี้เป็นของ Geospatial  Training and Analysis Coporative ออกแนววิชาการ แต่ครบถ้วน มีแบบฝึกหัดให้ลอง

Openev ซอฟท์แวร์ไลบราลี่สำหรับดูและวิเคราะห์ข้อมูลภาพ

OpenEV เป็นซอฟท์แวร์ไลบราลี่ หากเป็นนักพัฒนาโปรแกรมหรือนักวิเคราะห์ข้อมูลภาพสามารถใช้ภาษา Python ในการพัฒนา ภายใต้ GNU LGPL license ใช้ได้หลายระบบปฎิบัติการ Windows, Linux, Sun Solaris, and SGI Irix

ดาวน์โหลดได้ ที่นี่

แหล่งความรู้เส้นโครงแผนที่

ผมไปเจอลิงค์ที่เกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่จากไลบราลี่เส้นโครงแผนที่ที่ชื่อ Proj.4 มีความรู้เกี่ยวกับการคำนวณเส้นโครงแผนที่หลายประเภท

เข้าไปดูได้ที่
Map project
- Mathematics of cartography 

Paul B. Anderson's Map Projections Site
 เป็นเกลเลอรี่ของเส้นโครงแผนที่

เอกสารคู่มือเส้นโครงแผนที่ของ USGS ดาวน์โหลดได้ที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบสนับสนุนการตัดสินแบบหลายเงื่อนไข MCDSS

เป็นรายงานการวิจัยพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบหลายเงื่อนไข มีคอนเซปท์อธิบาย แต่ไม่ใช่เชิงพื้นที่ มีหลักการ AHP, MCDA เป็นต้น

Slide GIS and Decision making เป็นแนวคิดการรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ฝนภูเขา orographic rain

ฝนภูเขา หรือฝนที่เกิดจากภูเขาเป็นตัวกำหนดให้มวลอากาศลอยตัวตามความลาดของภูเขา เกิดการเย็นตัวลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นแบบ อะเดียเบียติก โดยที่ภูเขานั้นสามารถพบฝนที่เกิดจากเมฆแบบแผ่นและเมฆก่อตัวในแนวดิ่ง

 อ่านได้จาก u of wyoming
อธิบายฝนภูเขา
ฝนภูเขาจากยูทูป
ตัวอย่างงานวิจัย1
ตัวอย่างงานวิจัย2
Dynamic precip vs convective precip

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ไลบราลี่สำหรับสำหรับพัฒนาแอพลิเคชั่นภูมิสารสนเทศ

จะเน้นภาษา Python
http://courses.washington.edu/geog465/ses17sec.html

การเขียนPythonสคริปท์สำหรับGIS

Python script เป็นการภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถนำมาช่วยในการประมวลผลงานด้านภูมิสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น ถ้ามีข้อมูลจุดสถานีน้ำฝนรายชั่วโมงจำนวนสามสิบปี แล้วต้องการนำเข้ามาใช้ใน GIS เพื่อสร้างแผนที่เชิงพื้นผิวด้วยวิธี spline เพื่อหาลักษณะการกระจายตัวของน้ำฝนในงานด้านภูมิอากาศวิทยา จำเป็นต้องเขียนสคริปท์ช่วย เพื่อประหยัดเวลา มีตัวอย่างเวบไซต์ ในการเรียนรู้แนะนำดังต่อไปนี้

ตัวอย่างเวบไซต์สอนสคริปท์ Python
เอกสารการสอน Python script for ArcGISของ MIT
เอกสารการสอน GIS Database Programming ของ Woshington
เวบ QGIS
 Python modules for accessing .dbf (xBase) files