วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ขั้นตอน-การประมาณค่าข้อมูลเรดาร์น้ำฝนด้วยวิธีการ Cressman1959



2014.08.07
ขั้นตอนการประมาณค่าข้อมูลเรดาร์น้ำฝนด้วยวิธีการ Cressman1959
หลังจากเขียนเล่มป.เอกติดขัดนิดหน่อย เลยหาลองเล่นการประมาณค่าเชิงพื้นที่อีกแบบ เผื่อเป็นการทบทวนไอเดียอะไรบ้าง ซึ่งการประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่มีหลายวิธีการแล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ใช้งาน วิธีการประมาณค่าแบบที่พบเห็นได้บ่อยในทางอุตุนิยมวิทยาได้แก่ การประมาณค่า Objective analysis by Cressman interpolation เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตในแนวแกน X,Y,Z ซึ่งได้จาก Rewindsonde เช่น ลมในแต่ละระดับความกดอากาศ ตามแนวคิดข้างล่างคือ ค่าน้ำหนักของข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะขึ้นอยู่กับระยะทาง


 แนวคิด Cressman 

ในการทดลองนี้ผมต้องการจะสร้างภาพตัดขวางแนวดิ่งของข้อมูลเรดาร์ที่สแกนแบบหลายมุมยก จึงได้ประยุกต์ใช้วิธีการแบบ Cressman เข้าไปทำการให้ค่าน้ำหนักจุดเรดาร์ในแต่ละระยะทางของแต่ละมุมยก คงมีคนสงสัยวิธีนี้แตกต่างอย่างไรกับ IDW ผมพอจะคิดได้ว่า สิ่งที่แตกต่างคือ Cressman จะให้ค่าน้ำหนักพร้อมกับทำให้เป็นน้ำหนักมาตรฐานในกริดนั้นๆเลย สิ่งที่ง่ายและได้เปรียบ IDW คือเราไม่ต้องมาหาค่ายกกำลังที่เหมาะสมกับข้อมูล เพียงแต่เราต้องหาว่าจะใช้รัศมีในแต่ละแกนอย่างไรให้เหมาะสมกับข้อมูลเราก็พอ โดยเราสามารถกำหนดรัศมี Influence radius ได้ทั้สามแกน แต่ในที่นี้ผมกำหนดแค่สองแกนคือ แนวแกน X,Z เพราะเป็นภาพตัดขวาง วิธีการ Cressman นี้ยังเอามาใช้บ่อยๆในการประมาณค่าแผนที่ชนิด CAPPI ของเรดาร์หรือแผนที่แนวระนาบที่ระบุความสูงจากพื้นโลก ขั้นตอนการคำนวณหลักๆในโปรแกรม Fortran ของผมคือ
1.         อ่านไบนารี่จากข้อมูลเรดาร์ที่แสกนแบบหลายมุม
2.        ทำการวนลูปตามมุมยก อซิมุทและระยะสังเกตของเรดาร์ เพือ
1.          หาพื้นที่ที่ต้องการประมาณค่าที่อยู่ในรัศมีที่ต้องการ
2.          คำนวนหาค่าน้ำหนักของค่าสังเกตที่มีต่อกริดนั้นๆ
3.          นำค่าน้ำหนักมาใช้กับค่าสังเกต รวมผลลัพธ์ของค่าน้ำหนัก ค่าข้อมูลที่ถ่วงค่าน้ำหนัก ในแต่ละกริด
3.        ประเมินผลค่าการประมาณค่าด้วยการนำค่ารวมของข้อมูลถ่วงน้ำหนักหารด้วยค่ารวมค่าน้ำหนักทั้งหมด
4.        เก็บข้อมูลในรูปไบนารี่เพื่อแสดงผลในโปรแกรม NCL
การเปรียบเทียบการประมาณค่าแบบ Cressman VS IDW

 
 ผมเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้4แบบ โดยสามแบบแรกใช้ Cressman ในรัศมีที่ต่างกันออกไป ส่วนแบบสุดท้ายเป็นผลมาจากวิธีการ IDW จะเห็นว่า แบบที่ใช้ Cressman ที่รัศมี 4 กม.ทั้งแนวแกน Xและ Z จะคล้ายคลึงกับ IDW หากผลของ Cressman มีความราบเรียบกว่าและคงค่าความแรงของฝน Convective เหมือนกันกับ IDW แต่โปรแกรมยังมี Bug อยู่ในเรื่องของขอบเขตสุดท้ายของการประมาณค่า ต้องปรับปรุงอีกหลายอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น