หากในปี 2011 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบเรดาร์ตรวจอากาศที่มีการบำรุงรักษาที่ดี (จริงๆเรามี20 กว่าสถานีแต่เก่ามากๆ ไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ได้มาตรฐาน การเก็บข้อมูลก็แค่ชั่วโมงละครั้ง ไม่เหมือนกับฝนหลวงที่ได้มาตรฐานทัดเทียมประเทศพัฒนาแล้ว) และถ้าหากมีการเก็บบันทึกข้อมูลที่ถี่กว่าที่เป็นอยู่ ให้เป็น 5 นาทีต่อครั้ง บวกกับข้อมูลน้ำฝนอัตโนมัติที่มีอยู่พันกว่าสถานี ประเทศเราน่าจะมีข้อมูลที่ได้มาตรฐาน ช่วยในการตัดสินใจต่อการบริหารน้ำได้อีกทาง ผลักให้เป็นวาระแห่งชาติดีไหม ทุ่มงบตั้งหน่วยงานเก็บข้อมูลด้านนี้โดยเฉพาะเลยดีไหม เพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนและงานวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยาและเรื่องน้ำ แต่จริงๆก็มีอยู่แล้วสองสามหน่วยงานที่เห็น แต่พอเกิดเหตุภัยพิบัติไม่มีใครถามหรอกว่ามีหน่วยงานนู้นนี่ แต่ที่อยากรู้คือน้ำจะท่วมไหม ท่วมเมื่อไหร่ ท่วมที่ไหน จะทำอย่างไรไม่ให้ท่วม ถ้าท่วมแล้วจะจัดการยังไง จะไปอยู่ตรงไหน จะลดเมื่อไหร่ เสียหายเท่าไหร่ ตรงไหนบ้าง นั่นต่างหากที่สำคัญต่อประชาชน แต่ถ้าเป็นนักวิชาการก็จะสนใจว่าทำไมมันถึงเกิด เกิดได้อย่างไร ผมมีตัวอย่างประเทศที่มีกรมอุตุเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่งานด้านอุุตุนิยมวิทยาก้าวไปไกลแล้วครับ แต่ผมไม่โทษกรมอุตุเพราะผมทราบว่ากรมอุตุงานล้นมือมากแล้วก็ขาดการสนใจจากผู้ใหญ่ด้วย ทิ้งให้ทำงานตามมีตามเกิดมานาน ต้องช่วยกันทุกคนให้มีข้อมูลด้านนี้มาใช้อำนวยประโยชน์ให้กับประเทศเราให้ได้ แล้วต้องมีการบำรุงรักษา พร้อมทั้งพัฒนาให้ทัดเทียมนานาอารยะประเทศอย่าหยุดนิ่ง ไม่งั้นโดนแซงครับ โดนแซงด้วยภัยพิบัตินี่แหละที่น่าเป็นห่วงที่สุด
ประเทศมาเลเซียไปไกลแล้วนะครับ มีโครงข่ายเรดาร์เป็นแผนที่เรียบร้อยแล้วดูได้
ที่นี่
ประเทศญี่ปุ่นไม่ต้องพูดถึง ดูได้
ที่นี่
ส่วน Nexrad ของอเมริกานี่ก็สุดยอดครับ โมเสคทั้งประเทศเลย ดูได้
ที่นี่
ส่วนของแคนาดาก็มีนะครับ ดูได้
ที่นี่
แล้วก็ยังมีรวมกันของอเมริกาและแคนาดาด้วย ดูได้
ที่นี่
สหราชอณาจักร ก็เป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาของโลกครับ ดูได้
ที่นี่
ของประเทศฝรั่งเศสก็สวยดีเป็นแอนิเมชั่นเลย ดูได้
ที่นี่ครับ
ของประเทศเยอรมันก็มีครับ
ที่นี่
ของประเทศนอรเวย์ครับ
ที่นี่
ผมชอบของออสเตรเลียมากที่สุดครับ ดูได้
ที่นี่
ของประเทศไต้หวันครับ
ที่นี่
ส่วนลิงค์กรมอุตุนิยมวิทยาทั่วโลกเข้าดูได้
ที่นี่