วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โปรแกรม Whitebox ช่วยในการเรียนการสอนโฟโตแกรม รีโมท

2014.12.20
โปรแกรม Whitebox ช่วยในการเรียนการสอนโฟโตแกรม รีโมท
ถูกพัฒนาโดย Dr. John Linsay Department of Geography University of Guelph ที่ประเทศแคนาดา มุ่งเน้นทางด้านการประมวลผลข้อมูล DEM แล้วยังถูกพัฒนาให้สามารถนำมาใช้กับงานทางด้าน Geomatics มีการนำมาสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อให้เข้าใจหลักการ โฟโตแกรม รีโมทเซนซิ่ง การประมวลผลข้อมูล Lidar
1. ฟังค์ชั่นในการประมวลผล ที่นี่
2. หน้าหลักของ Whitebox ที่นี่

น่าเอามาลองสอนนิสิตสาขาภูมิศาสตร์ที่ม.นเรศวร

ไพธอนไลบราลี่สำหรับสถิติเชิงพื้นที่

ไพธอนไลบราลี่สำหรับสถิติเชิงพื้นที่
เมื่อปี 2009-2010 ผมมีโอกาศได้สอนนิสิตเรื่องสถิติภูมิศาสตร์ ซึ่งถือว่าเพิ่งจบมาใหม่และไม่มีความเชี่ยวชาญ แต่ก็ได้มุมมองหลายอย่างจากอาจารย์พัฒนาและอาจารย์กัมปนาทว่าเราควรมีการสอนแลปนอกเหนือจากการคำนวนโดยมือ ผมได้ใช้ totorial ที่พัฒนาโดยภาษา Avenue โดยใช้โปรแกรม Arcview ในการสอน การเรียนการสอนเป็นไปได้ดีเพราะเป็นของแปลกสำหรับเด็กภูมิศาสตร์ป.ตรี แต่ก็มีความอึดอัดหลายอย่างที่ยังรู้สึกว่ายังไม่ดีต่อการพัฒนาต่อเมื่อเด็กไปใช้จริงในงานวิจัย หรือหากมีผู้สนใจนำไปใช้วิจัยเพราะเราไม่สามารถดัดแปลงได้ มาวันนี้มีไลบราลี่ที่ชื่อ Pysal มีผู้ร่วมคิดค้นคือ Luc Anselin’s group previously located at the University of Illinois,Champaign-Urbana, and Serge Rey who was at San Diego State University เป็นไลบราลี่ที่ใช้ในการประมวลผลสถิติเชิงพื้นที่ มีโมดูลดังนี้
        pysal.cg — Computational Geometry
        pysal.contrib - Contributed modules
        pysal.core — Core Data Structures and IO
        pysal.esda — Exploratory Spatial Data Analysis
        pysal.examples — Data Sets
        pysal.inequality — Spatial Inequality Analysis
        pysal.region — Spatially constrained clustering
        pysal.spatial_dynamics — Spatial Dynamics
        pysal.spreg — Regression and diagnostics
        pysal.weights — Spatial Weights

ไลบรารี่นี้เหมาะแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอย่างมาก ในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดในบ้านเรา แต่พื้นฐานไพธอน Unix โปรแกรมมิ่งควรจะมีพอได้บ้างก่อน จะดีมากๆ ดูเอกสารที่นี่

ไพธอนไลบรารี่สำหรับ remote senseing and GIS (RSGISLib)

ไพธอนไลบรารี่สำหรับ remote senseing and GIS (RSGISLib) 
ใช้ในการสอนในระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัย Aberystwyth ในรายวิชารีโมทเซนซิ่งและจีไอเอส
หลักๆใช้ไพธอน GDAL OGR โดยพัฒนาโมดูลในด้านการประมวลผลภาพและเวคเตอร์
เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาบ้านเรา น่าสนใจมว๊ากกกก
- คู่มือสำหรับใช้งานไลบราลี่และพื้นฐานไพธอน ที่นี่

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บล๊อก shreshai for QGIS Python Matlab

บล๊อก shreshai for QGIS Python Matlab
มีเทคนิคที่จัดการด้านภาพได้น่าสนใจดีครับ ที่นี่

ป.โท UCL สาขารีโมทเซนซิ่ง+ course materials

UCL สาขารีโมทเซนซิ่ง+ course materials (นี่คือสุดยอดต้นแบบที่บ้านเราควรจะดูไว้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอน) MSc remote sensing 

เป็นหลักสูตรปริญญาโทที่อยู่ในภาควิชาภูมิศาสตร์ของ  UCL มีเนื้อหาให้อ่านตามรายวิชาที่เกี่ยวกับรีโมทเซนซิ่ง ทั้งเลคเชอร์ และ แลป ที่เน้นวิทยาศาสตร์ และการคำนวณข้อมูลโดยใช้ Python, IDL/ENVI น่านำไปปรับใช้สอนแนะนำ นักศึกษาในระดับป.โท/เอก โดยลิงค์เข้ากับภูมิอากาศ บรรยากาศศาสตร์ และโฟโตแกรมเมตรีได้เลย โดยเราสามารถศึกษาจากเนื้อหาที่เอาขึ้นเวปของ UCL ที่ทำไว้ดีมากๆ และที่น่าสนอีกอย่างคือการศึกษาที่เป็นแบบบูรณาการความรู้จากอาจารย์หลายภาควิชา with the Department of Civil, Environmental and Geomatic Engineering at UCL and the Department of Geography at Birkbeck College ต่างจากบ้านเรา ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์คือตัวนักศึกษา อ่านได้ ที่นี่
วิชาที่น่าสนใจได้แก่
1. Analytical and Numerical Methods
2. Scientific Computing
3. Principles and Practice of Remote Sensing
4. Image Understanding
5. Airbourne Data Acquisition
6. Global Monitoring of Environment & Society