วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

การสแกนเรดาร์แบบ Hybrid scan

การสแกนเรดาร์แบบ  Hybrid scan
2014.01.04

ปรกติแล้วเรดาร์จะมีหลายมุมยก โดยจะทำการกวาดข้อมูลในแต่มุมยกใช้เวลากวาด14มุมยก ประมาณ5-8นาที ซึ่งจะทำการกวาดข้อมูลในระบบพิกัดโพลาร์จนครบวงกลมหนึ่งรอบถึงจะเปลี่ยนไปกวาดข้อมูลในมุมยกที่สูงขึ้นไป แต่เนื่องจากในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาทำให้มีปัญหาใหญ่มากๆของการเรดาร์ ในเรื่องของบีมถูกบดบัง ซึ่งบีมเหล่านั้นจะมีค่าการสะท้อนไม่เป็นจริง ดังนั้นจึงมีการคิดค้นวิธีการเลือกใช้ข้อมูลเรดาร์ให้ใกล้พื้นผิวโลกที่สุดของแต่ละมุมที่เรียกว่า Hybrid scan เพื่อให้ได้ค่าการสะท้อนของเรดาร์ใกล้ผิวพื้นมากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงบีมที่กระทบผิวโลกใกล้ๆตัวสถานีเรดาร์(Ground clutter)  โดยมีการกำหนดเกณฑ์ของบีมที่ถูกบังด้วยภูเขา เช่น ในแต่ละช่วงบีมนั้นๆต้องมีบีมที่ไม่ถูกบดบังด้วยภูเขามากกว่า 60% หากบดบังมากกว่าที่กำหนด ให้เปลี่ยนไปใช้บีมในมุมยกที่สูงกว่า ประโยชน์ของการใช้วิธีการนี้ก็คือ ได้ค่าการสะท้อนที่ปราศจากการสะท้อนของภูมิประเทศ นำไปสู่การประมาณค่าปริมาณน้ำฝนที่จะทำให้ได้ใกล้เคียงกับสภาพจริงมากที่สุด ซึ่งก็ยังมีค่าความผิดพลาดอื่นๆเหลืออยู่รอให้ปรับแก้ต่อไป


http://www.cimms.ou.edu/~langston/hybridscan/WhatIsHybScan.html


ในภาพจะเห็นว่าช่วงบีมสีเขียวจะถูกเลือกเพื่อนำมาเป็นข้อมูลค่าสะท้อนจากเรดาร์ใกล้ผิวโลก ประเทศไทยมีตัวอย่างเรดาร์ที่ใช้ระบบนี้ก็คือ เรดาร์ที่จังเพชรบูรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

GDAL ไลบราลี่สำหรับจัดการข้อมูลภาพ

2014.01.03
GDAL เป็นไลบราลี่ที่พัฒนาโดยคุณ Frank Warmerdam ในตอนเริ่มแรก นักพัฒนาโปรแกรมนำประโยชน์จากไลบราลี่ตัวนี้ไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมของตัวเองเนื่องจากเป็นโอเพ่นซอร์ส ในประเทศไทยมีกลุ่มนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษาที่ยังอยู่ในวงแคบๆใชักันอยู่ ในสายวิศวกรรมสำรวจ ปริภูมิ ภูมิสารสนเทศ เป็นต้น ซอฟท์แวร์ดังๆในโลกนี้ ก็ได้นำไลบราลี่ตัวนี้ไปใช้เช่น ArcGIS, GoogleEarth, gvSIG, QGIS, MapServer เป็นต้น ตอนนี้มีหลายภาษาคอมพิวเตอร์ให้ได้เลือกใช้ เช่น Java, VB6, R, PHP ที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสมาแรงก็คงจะเป็นการใช้ GDAL ใน Python โดยต้องลอง แพคเกจ Numpy ก่อน เพื่อจะง่ายในการจัดการอเรย์เนื่องจากมีฟังค์ชั่นให้เลือกใช้เยอะ

การเรียนรู้ใช้งานในเบื้องต้นไม่ได้ยากอะไรมากมายหากแต่เพียงอ่านภาษาอังกฤษพอจะได้ เพราะมีแหล่งข้อมูลการใช้ตัวอย่างบอกไว้อยู่ในเวปของไลบราลี่อยู่แล้ว ทั้งระดับที่เป็น User และ Developperแต่หากจะให้ใช้ได้ผลและคล่องก็คงต้องหมั่นฝึกฝนหลายด้านอยู่พอควร แต่ก็คงไม่เกินความสามารถ

การทำแผนที่บนอินเตอร์เนต (web mapping)

การทำแผนที่บนอินเตอร์เนต (web mapping)
2014.01.03

โลกเปลี่ยนอะไรหลายๆอย่างก็เปลี่ยนไป เทคโนโลยีการทำแผนที่ การกระจายข้อมูลภูมิสารสนเทศ ก็เปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลแผนที่ในกระดาษ มาสู่ระบบอินเตอร์เนต นำไปสู่การพัฒนาแอพลิเคชั่นมากมาย  เทคโนโลยี web mapping/web map service ช่วยให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลภูมิสารสนเทศแบบเรียลไทม์ได้รวดเร็ว ใช้หลักการ Mashup นั่นคือ นำข้อมูลจากหลายแหล่งมาแสดงผลในแอพลิเคชั่นแผนที่ที่เราพัฒนาขึ้นมาในส่วนของ client หากในส่วนของผู้ให้บริการ server side ก็ต้องมีการจัดการที่ต่างกันไป หากต้องการรายชื่อของเครื่องมือโอเพนซอร์สในการพัฒนาก็เข้าไปดูได้ที่ OSGeo ในส่วน ของเทคโนโลยี Webmapping (deegree;geomajas;GeoMoose;GeoServer;Mapbender;MapBuilder;MapFish;MapGuide;Open Source;MapServer;OpenLayers
)

การประยุกต์ใช้งาน
State water commission North Dakota นำมาใช้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการน้ำ มีข้อมูลไลดาร์ตามลุ่มน้ำสำคัญของรัฐให้ดาวโหลดมาใช้ด้วย ใช้ OpenLayers
Wellington City Council ของ NewZealand นำมาใช้ให้บริการข้อมูลเชิงตำแหน่งของทรัพย์สินของรัฐ เช่น ระบบท่อส่งน้ำ ระบบระบายน้ำ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ที่น่าสนใจคือ การคำนวนพลังงานแสงอาทิตย์จากพื้นที่หลังคาบ้านในกรณีติดตั้งแผงโซลาเซลล์
NOAA ให้บริการเวปแมปที่เกี่ยวกับข้อมูลภูมิอากาศวิทยา โดยใช้ค่าย ESRI แล้วยังมี Historical Hurricane Tracks ให้บริการดาวน์โหลดข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยน่าสนใจมากๆตัวนี้
Crime Web Mapping การเผยแพร่ข้อมูลตำแหน่งอาชญากรรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยตรงที่ต้องให้บริการเพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจในความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยเฉพาะประเทศที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมอย่างอเมริกา นี่เป็นตัวอย่างของเมือง Auburn, California, USA มีการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเป็น density map