วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การวัดปริมาณน้ำฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่ามีการพัฒนาระบบโครงข่ายเรดาร์ตรวจอากาศอันเป็นต้นแบบของโลก มีมาก่อน Nexrad ของอเมริกา มีทั้งหน่วยงาน JMA และหน่วยงานชลประทาน River.go.jp ที่มีเรดาร์

โดยหน่วยงานชลประทานของญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบโครงข่ายเรดาร์ระบบ X-band ที่สามารถตรวจวัดปริมาณฝนณ เวลาปัจจุบันด้วยการตรวจวัดทุกๆ 5 นาที ทำให้ทราบปริมาณ น้ำฝนที่ตกจากท้องฟ้าได้อย่างแม่นยำ คำนวณปริมาณน้ำฝนในลุ่มน้ำ ว่าจะเกินขีดการรองรับหรือต้องจัดการปริมาณน้ำฝนเหล่านี้ได้อย่างไรให้ปลอดภัยแก่พลเรือน มีเรดาร์ประมาณ 13 ตัว ครอบคลุมทั้งประเทศ ถ้าหากไม่มีระบบเยี่ยงนี้ น้ำคงท่วมประเทศบ่อย อาจเป็นเหมือนไทยก็ได้



ประเทศไทยรู้แล้วทำไงครับ ถ้าหากรอกรมอุตุซึ่งมีงานหลายด้าน คงต้องมีน้ำท่วมอีกหลายครั้งแน่ กรมชลประทาน ควรต้องรับผิดชอบบทบาทนี้ แล้วรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ นักวิจัยเรื่องเรดาร์น้ำฝน ซึงเมื่องไทยมีนะครับ น่าจะแนะแนวทาง วางแผนได้อย่างเป็นรูปธรรม แล้วนำเสนองบกับรัฐบาล ผมย้ำว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องข้อมูลปริมาณน้ำฝน ต้องตั้งโครงข่ายเรดาร์ตรวจวัดเฉพาะปริมาณน้ำฝน เน้นๆไปเลย เพราะเรดาร์ตรวจอากาศเป็นระบบตรวจวัดระบบเดียวที่จะได้ข้อมูลณเวลาจริงมากที่สุด ดีกว่าดาวเทียมที่โคจรมาทีหนึ่งหลายวัน แต่เรดาร์กวาดทุกๆ 5 นาทีครับ จะได้มีเจ้ามือรับผิดชอบไปโดยตรง ขอให้เกิดทีเถอะ เพี้ยงๆๆๆๆ

ดูได้จากเวป ที่นี่