วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

กยศ. ร่วมช่วยกันคืนเงินเถิด

...ได้โอกาส ศึกษาต่อ มหาลัย

แสงแห่งไฟ เจริญรุ่ง รอไขว่คว้า

จากบ้านนอก บ้านนา คนไร้ค่า

บุกบันมา สู่เมืองฟ้า หัวเมืองเหนือ

มีโอกาส ต่อยอด วิเศษยิ่ง

แต่มีสิ่ง ที่ต้องคิด เรื่องเงินทอง

ไหนจะต้อง ค่าหนังสือ ค่ากิจกรรม

มิหนำซ้ำ ค่ากินอยู่ กู้ใครดี

กยศ. ให้โอกาส สานสร้างฝัน

ณตอนนั้น หากไม่มี คงหมดที

หาที่พึ่ง ยิบยืมใคร หาใช่มี

พฤษภานี้ ช่วยกันคืน ยื่นต่อฝัน...ให้รุ่นน้องที่จำเป็นต้องใช้เงินทองต่อไปกันเถิด ...^^

^^ ช่วยช่วยกันนะพี่น้อง...ให้สมกับวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาในสังคมไทย

วันหยุด ณ เกียวโต ศุกร์29 เมษายน 2554 ^^

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

NCGIA-National Center for Geographic Information and Analysis


The National Center for Geographic Information and Analysis is an independent research consortium dedicated to basic research and education in geographic information science and its related technologies, including geographic information systems (GIS). The three member institutions are the University of California, Santa Barbara; the University at Buffalo; and the University of Maine. The consortium was formed in 1988 to respond to a competition for funding from the National Science Foundation, and continues to receive much of its funding from that source. Total funding to the consortium amounts to approximately $5 million per year

มีงานวิจัย ลิงค์หน่วยงาน องค์กร ทางด้านภูมิสารสนเทศ มีศูนย์ Center for spatial study

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลประชากร

Center for Spatially integrated social science ได้จัดทำลิงค์เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลประชากรเชิงพื้นที่ ซึ่งมีซอฟท์แวร์ให้ได้ดาวน์โหลดมาใช้กัน มีทั้งแบบฟรีและไม่ฟรี

ลิงค์ของหน่วยงานเข้า ที่นี่ เลยครับ

ลิงค์เครื่องมือที่ทางนักวิจัย Csiss ใช้ในงานวิจัยประชากรเชิงพื้นที่

Historical Cartographic

International Cartographic Association เป็นสมาคมที่นำเสนอความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวงการแผนที่ และมีอีเวนท์ คอนเฟอร์เรนท์เป็นประจำ

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

กลอนอยากออกไปดูดอกไม้บาน

...
ยามสายสาย ตามแผนงาน การวิจัย
ต้องรีบให้ งานตัวอย่าง พรั่งออกมา
เขียนโปรแกรม รันข้อมูล อันหนักหนา
หยาดน้ำฟ้า ข้อมูลไทย นั้นใหญ่จริง

ด้วยฟอร์แทน เริ่มหัดใหม่ ไม่กี่เดือน
พร้อมกับเพื่อน โปรแกรมอื่น มากมายยิ่ง
เขียนแบชเอง ภาษาซี ด้วยตนจริง
หวังพึ่งพิง มันสมอง ของตัวเรา

แต่วันนี้ อากาศดี นี่กะไร
อยากออกไป ดูดอกไม้ บานเบ่งแสง
ดอกชมพู สีอ่อนอ่อน ที่โล่งแจ้ง
บางครั้งแดง บางครั้งขาว วับวาวใจ...

^^อยากออกไปดูดอกไม้บาน ทั้งที่เมื่อวานก็ไปที่ข้างคาโมะมาแล้ว แต่ต้องทำงานให้ทันกับเวลา เฮ้ออ สู้ๆ เพื่อชาติ 07 เมษา 2554 ณ เกียวได เกียวโต^^

อวยพรงานแต่งงาน หนุ่ยตาล

...
ความรักแท้ ผ่านพิสูจน์ มานานแล้ว
เนื้อคู่แก้ว ฟ้าสั่งมา พาสุขสันต์
วันวิวาห์ เชิญเทวา ฟ้าร่วมกัน
บันดาลฝัน บันดาลพร ตาลหนุ่ยเอย...
...
+++อวยพรงานวิวาห์ ล่วงหน้าละกันนะหนุ่ยตาล+++
^-^ คืนวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554 ณ เกียวโต ยาง&นิ ^-^

ซอฟท์แวร์กราฟฟิคจาก UCAR&NCAR


UCAR-University Cooperation for Atmospheric Research เป็นหน่วยงานวิจัยที่สำคัญของอเมริกา เน้นด้านวิจัยด้านบรรยากาศ ด้านการเรียนการสอนบรรยากาศวิทยา ด้านการสร้างเครือข่ายวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

และยังมีซอฟท์แวร์ชื่อดังที่ชื่อ NCAR Graphicโดยสามารถเขียนด้วยคำสั่ง NCL command ในการโปรแกรมให้ได้กราฟฟิคที่ต้องการใช้ในงานวิจัยเฉพาะด้านอีกด้วย ซึ่งเป็นฟรีซอฟท์แวร์

หน่วยงาน NCAR -The National Center for Asmospheric Research


NCAR -The National Center for Asmospheric Research เป็นหน่วยงานวิจัยด้านบรรยากาศวิทยาของอเมริกาที่มีชื่อเสียง ให้บริการข้อมูลบรรยากาศ มีการนำเสนอข้อมูลทางด้านบรรยากาศด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ได้แก่ ดาวเทียมGOES-12,10 เรดาห์ตรวจอากาศ NEXRAD แผนที่ลมพื้นผิว แผนที่ลมชั้นบน ข้อมูลพยากรณ์ปัจจัยลมฟ้าอากาศล่วงหน้า12ชม.

ที่น่าสนใจก็คือมีเวบแมพสำหรับติดตามสภาพอากาศไว้คอยบริการ โดยเฉพาะของเรดาห์ตรวจอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งอเมริกา

เครื่องมือพยากรณ์อากาศ READY Current & Forecast Meteorology-ARL-NOAA




ARL-Air Resources Laboratory หน่วยงานวิจัยของ NOAA ได้สร้างเครื่องมือวิเคราะห์และพยากรณ์สภาพอากาศ ด้วยข้อมูลที่สังเกตุจากสถานีตรวจอากาศที่มีอยู่ทั่วโลกด้วยโมเดลที่สร้างขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์ขององค์กร หนึ่งในเครื่องมือที่น่าสนใจก็คือ เวบแมพที่สามารถเลือกเอาได้ว่าจะดาวน์โหลดข้อมูลปัจจุบัน หรือทำนายสภาพลมฟ้าอากาศด้วยโมเดล GFS

Choose a forecast location by entering a 3 or 4-character station identifier or a 6-digit WMO index number or a latitude/longitude pair and then click the Continue button, or by clicking on the location in the map. You will be taken to the model products section.

Climate Reference Network-ARL-NOAA



Air Resource Laboratory-ARL เป็นหน่วยงานวิจัยของ NOAA มีงานหลักๆก็คือ air quality, atmospheric dispersion, climate, and boundary layer science. แต่ที่น่าสนใจก็คือมีสถานีตรวจวัดอากาศที่จะปล่อย Rawinsonde ไปกับบอลลูนครอบคลุมทั้งประเทศอเมริกา 114 สถานี

แล้วที่น่าสนใจอีกประการคือ แลปนี้มีลิงค์เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์สภาพอากาศหลายแบบ ทั้งคุณภาพอากาศ กระแสลม การจำลองการแพร่กระจายของเถ้าถ่านของภูเขาไฟ การจำลองการแพร่กระจายควันไฟจากไฟป่า

The United States Climate Reference Network (USCRN) consists of 114 stations in the 48 contiguous States and an additional 7 stations installed in extreme environments in Alaska, Hawaii and Canada. Each station is strategically placed away from urban and suburban influences to avoid any possible misinterpretation of changes observed. The USCRN reports multiple observations per hour for temperature and precipitation. This temporal resolution of the data provides additional climate information, such as precipitation intensity and duration of extreme events.

การแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสี cs-137

This animation displays a potential dispersion of the radioactive cloud (Caesium 137 Isotope) after a nuclear accident in reactor Fukushima I. The continuous release rate is very uncertain, thus the calculations have to be interpreted qualitatively. Dispersion in the near surface level (Level 1), in appr. 2500 m height (Level 12) and in appr. 5000 m height (Level 16).

เป็นรายงานการสังเกตุการณ์และการทดลองการแพร่กระจายของสารกัมมันตภาพรังสี cs-137 ที่รั่วไหลมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกชิมา โดยทางสถาบันวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยโคโลญจ์เป็นผู้เผยแพร่ Rheinisches Institut für Umweltforschung an der Universität zu Köln

ซึ่งเวบไซต์ weatheronline.co.uk ได้นำมาเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง

ทุนเรียนฟรีที่ยุโรป eramus mundas

ใครว่าทุน(ของ)ฟรีไม่มีในโลก โอกาสดีๆมีอยู่เสมอรอแค่น้องๆจีออมาหยิบเอามันไป...

มีทุนหนึ่งชื่อ erasmus mundus เป็นทุนความร่วมมือของกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU ให้ทุนเรียนฟรี ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าอุปกรณ์ ค่าครองชีพ ค่าเครื่องบิน เป็นต้น แถมยังมีเงินเหลือได้เที่ยวประเทศในแถบยุโรปอีกด้วย

ซึงตลอดหลักสูตรจะต้องทำการเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของหลักสูตรนั้นอย่างน้อยสามมหาลัยในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปในแต่ละภาคการศึกษาเพื่อไปเรียนวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่นหลักสูตร Geospatial Technologies มีให้เลือกไปเรียนที่ เยอรมัน สเปน โปรตุเกส แล้วก็โปรแลนด์

มีทุนให้ทั้งป.โทและเอก ตัวอย่างหลักสูตรป.โทที่เกี่ยวข้องกับเด็กจีออได้แก่
MScGT - Master of Science in Geospatial Technologies
IMRD - International Master of Science in Rural Development
JEMES - Joint European Master Programme in Environmental Studies

น้องคนไหนที่มีไฟ มีพลังที่อยากจะค้นหาประสบการณ์ต่างแดน อ่านตามลิงค์เลยนะครับ

http://eacea.ec.europa.eu/erasmus_mundus/results_compendia/selected_projects_action_1_master_courses_en.php

โชคดีมีเฉพาะคนที่เดินเข้าหาโอกาส ^^

ข้างล่างคือลิงค์ทุนสาขา MScGT - Master of Science in Geospatial Technologies

http://geotech.uni-muenster.de/fees-a-fundings/erasmus-mundus-scholarships

หมดเขตสิ้นเดือนเมษานี้ แต่ก็จะมีทุกๆปี ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาให้ได้รับทุน น้องคนใดสนใจลุยเลยนะครับ ถ้าไม่ทันก็ศึกษาคุณสมบัติที่เค้าต้องการไว้ก่อน แล้วค่อยลุยเมื่อวันที่เราพร้อม สู้ๆครับ

ทุนเรียนต่อฟรีที่ประเทศเยอรมัน

ทุนพ่อแม่มีจำกัด มาหาทุนฟรีสานฝันกันต่อไปดีกว่า มีทุนเยอรมันที่ชื่อว่า DAAD-Deutscher Akademischer Austausch Dienst มอบให้กับประเทศยากจนทั้งหลายรวมทั้งไทยด้วย ให้ได้มีโอกาศศึกษาต่อในขั้นสูง โดยทั่วไปจะสมัครผ่านสถานทูต มีให้ทุกปีหลายระดับการศึกษา มีหลายหลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษ
พี่น้องคนใดที่สนใจและอยากไปทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริงก็ลองเข้าเวบข้างล่างนะครับ ดูคุณสมบัติว่าพร้อมหรือไม่ถ้าไม่พร้อมก็เตรียมตัวไว้ในวันที่เราพร้อมครับ
http://www.daad.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=74&Itemid=77

ทุนบัณฑิตศึกษาเข้าตามลิงค์นี้นะครับ
http://www.daad.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=34&Itemid=44
สาขาที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเด็กจีอออย่างพวกเรา หาได้จากคู่มือหลักสูตรที่ทาง DAADตามลิงค์นี้นะครับ "หมดเขต Application deadline: 31st July each year"
http://www.daad.or.th/images/stories/Postgraduate-Courses-2012-2013-pmowlavidjou-1298986048603.pdf

1.Photogrammetry and Geoinformatics
Hochschule für Technik Stuttgart (Stuttgart University of Applied Sciences) หลักสูตรนี้ดีจริงๆ รับประกันครับ
http://www.hft-stuttgart.de/PhotogrammetryGeoinformatics/Staff/Prof/guelch/guelch_main/


2.SPRING – Regional Development Planning and Management
Technische Universitaet Dortmund (TU Dortmund University)


3.Urban Management – UM
Technische Universitaet Berlin (Berlin University of Technology)

4.Regional Science / Spatial Planning
Karlsruher Institut fuer Technologie (KIT) (Karlsruhe Institute of Technology (KIT))


5.Land Management and Land Tenure
Technische Universitaet Muenchen (TUM) (Technical University of Munich)

ขอให้โชคดีนะครับ ผลบุญใดๆที่ได้ทำขอให้ผลบุญนั้นช่วยให้ญี่ปุ่นรอดพ้นภัยต่างๆนาๆไปได้ด้วยดีนะครับ

ทุนเรียนต่อต่างประเทศ ADB ทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

มีหลายคนอยากเรียนต่อแต่คิดหาแหล่งทุนกันอยู่และคงสงสัยด้วยว่าเรียนภูมิศาสตร์จบไปจะมีที่ไหนให้ทุนมั่งนะ เห็นแต่ปัจจุบันมีให้ทุนแต่ Geoinformatics, Geospatial(เป็นเทรนด์ของโลกยุคปัจจุบันครับ อย่าลืมว่าคู่แข่งมิใช่ภูมิศาสตร์อย่างเดียว ) คงพาลคิดไปว่าแสดงว่าสาขาภูมิศาสตร์ไม่มีความสำคัญต่อโลกปัจจุบันแล้วใข่หรือไม่

ครั้นจะเอาทุน พก.ก็มีจำกัด ทุนกพ.ก็ มีการแข่งขันสูง จะดีกว่าไหมถ้าพี่น้องจีออมีแหล่งทุนอื่นให้ได้เรียนต่อในระดับสูง ในโลกนี้ยังมีผู้ใจบุญให้ทุนเด็กน้อยผู้มีความตั้งใจ หนึ่งในนั้นมีก็คือทุน ADB-Asian Development Bank เป็นอีกหนึ่งทุนที่ให้พรี ไม่มีข้อผูกพันแก่ผู้มีความต้องการเรียนต่อในระดับสูงซึ่งมีให้สมัครเกือบจะทุกปี ถ้าสนใจให้ศึกษารายละเอียดคุณสมบัติและกำหนดการได้ที่ ลิงค์ข้างล่างนะครับ ถ้าพร้อมก็ลุยเลยนะครับ แต่ถ้ายังขาดอยู่แล้วสนใจก็พัฒนาตามฝันของตนเองนะครับ ถ้าปีนี้ไม่ทันก็เก็บเอาไว้เป็นเป้าหมาย เพราะยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องเตรียมตัว แต่เชื่อเถอะ ว่าคุ้มกับการทุ่มเทและลงทุนครับ!!! ^^

===รายชื่อหลักสูตรที่ ADB สนับสนุนทุนให้ พร้อมอีเมลล์ต่อติดเจ้าหน้าที่===
http://www.adb.org/JSP/institutions.asp

==============ขั้นตอนการสมัคร=================
http://www.adb.org/JSP/procedures.asp


++++ แนะนำสาขาและสถาบันที่ADBให้ทุนที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเด็กจีอออย่างพวกเรา ++++++
======Geography at University of Hawaii at Manoa-USA=======
Contact-East-West Center
http://www.eastwestcenter.org/education/student-programs/ -->แหล่งทุนเพิ่มเติม
http://www.eastwestcenter.org/?id=867
หมดเขตส่งใบสมัครและเอกสารประมาณต้นเดือนพฤจิกายนของทุกปี เวบอาจจะไม่อัพเดตถ้าไงลองติดต่อไปยังจนท.ที่เกียวข้อง


===Institute of Environmental Studies-Japan-===
Master/Doctorate in Environment Studies


===Asian Institute of Technology-Thailand===
Remote Sensing and Geographic Information Systems หลักสูตรนี้เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียง
Regional & Rural Development Planning
Natural Resources Management


===National University of Singapore ===
Master of Science in Environmental Management
http://www.sde.nus.edu.sg/ACAD/MEM/index.htm

ปล.เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นผู้สนับสนุนทุนหลักอย่างเป็นทางการประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติและนิวเคลียร์ ไม่แน่ใจว่าปีต่อๆไปจะยังให้ทุนได้หรือไม่ ให้สอบถามไปยังสถาบันหน่วยงานที่ต้องการสมัครก่อนนะครับ


ปล.ยังมีอีกหลายทุนที่ให้แก่เด็กจีออ ไว้จะมาบอกเล่าต่อครับ

ฮานามิ ข้างแม่น้ำคาโมะ กับเพื่อนในแลป

...
แสงแดดอ่อน ตอนบ่ายบ่าย อันสดใส
ส่องลอดใบ กระทบดอก ซากุระ
เปล่งประกาย สีชมพู สุนทรียะ
ดูระดะ เรียงรายรอบ ขอบคาโมะ

ยามต้นเดือน เมษา หรรษาใจ
มองออกไป นอกหน้าต่าง อย่างโมหะ
ลุ่มปนหลง ธรรมชาติ เบ่งบานตา
สุขสุดหล้า หนึ่งนั้นวัน ดอกไม้บาน ...

^^วันที่ 06 เมษายน 2554 เวลา 16.45 น. ณ climate physics lab เกียวได หลังออกไป Hanami กับเพื่อนๆในแลปที่ข้างแม่น้ำคาโมะ^^

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554


ช่วงนี้ที่ญี่ปุ่นเป็นช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ มีนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่นเดินทางไปยังสถานที่ดูดอกซากุระที่มีชื่อ ทั้งโทรทัศน์และเวบไซต์ต่างก็จะมีการพยากรณ์ว่าจะมีดอกซากุระบานในช่วงวันไหนบ้างของแต่ละพื้นที่ หนึ่งในนั้นก็ได้แก่เมืองเกียวโต นครหลวงเก่าแก่ของญี่ปุ่น ก็มีการพยากรณ์เช่นกัน โดยมีหลายเวบซึ่งเวบที่น่าสนใจที่สามารถได้ข้อมูลทันเหตุการณ์ก็คือ เวบ Japanguide

จะมีข้อมูลรายงานสถานที่ในเมืองเกียวโตอัพเดตเป็นระยะว่ามีที่ใดบ้างที่ดอกไม้กำลังจะบาน แถมยังมีลิงค์พยากรณ์ดอกไม้บานของแต่ละเมืองในญี่ปุ่นอีกด้วย

แถมยังมีลิงค์ชนิดของดอกซากุระอีกมากมาย ที่รอให้นักท่องเที่ยวไปสัมผัส

หวังว่าฤดูนี้คงจะช่วยเยียวยาคนญี่ปุ่นจากความโหดร้ายของธรรมชาติที่พึ่งผ่านพ้นไป