วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ซอร์สโค้ดฟอร์แทน sorting

วันนี้พยายามหาวิธีในการเรียงลำดับข้อมูลหลายมิติอยู่ ก็ไปเจอว่ามีหลายแนวคิด หลายทฤษฎีที่จะใช้ในการจัดเรียงข้อมูล ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนเลย ปกติก็ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ^^' หากใครสนใจอยากรู้คร่าวๆว่ามีแนวคิดอะไรบ้างที่ใช้จัดเรียงข้อมูล ต้องอ่านวิกิประเภทการจัดเรียงข้อมูล ส่วนซอร์สโค้ดก็มีให้ดาวน์โหลดมาศึกษา หลายแห่งครับ ของผมใช้ฟอร์แทน

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Census 2010 Offers Portrait of America in Transition


อเมริกาเผยผลสำรวจสำมะโนประชากรปี 2010 ในรูปของแผนที่ของประชากรหลายด้านเช่น การเปลี่ยนแปลงประชากร การเพิ่มขึ้นลดลงในประชากรตามเขต แสดงสัดส่วนประชากรที่มีเชื้อสายสเปนและโปตุเกส แผนที่คนผิวสี เป็นต้น บ้านเราไม่รู้ว่าไปถึงไหนแล้ว มีข้อมูลเก็บไว้ น่าจะหาเด็กที่เรียนทางภูมิสารสนเทศและภูมิศาสตร์ มาช่วยทำงานด้านนี้ ให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ยิ่งขึ้น มากกว่าข้อมูลตาราง
เวบนี้เลยนะครับ Cencus 2010 Officers Portrait of America

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทุนน้อยค่อยสะสม

...
เรามีน้อย เราทุนน้อย ค่อยสะสม
หมั่นอบรม หมั่นศึกษา มุ่งหน้าไป
ประสบการณ์ สิ่งใดดี เก็บเกี่ยวไว้
ด้วยแรงใจ แรงไขว่คว้า พัฒนาตนเอง ...
...
^^ ขอให้โชคดี ทำงาน สะสมประสบการณ์ เรียนต่อ(หากมีโอกาส) เรียนรู้ไปตลอดชีวิต ^^

สำหรับเด็กนิสิตนักศึกษาทุกมหาลัย ที่กำลังจะจบในปีนี้

...

ฉันขออยู่ รอบนอก ขอบอกไว้

จะอย่างไร ไม่อยากทำ งานเมืองหลวง

กลัวสังคม กลัวงานหนัก กลัวหลอกลวง

สิ่งทั้งปวง คือเหตุผล ของตนเอง

ฟังทางนี้ ขอให้มอง อีกมุมนึง

หากหวังพึ่ง ด้วยลำแข้ง แรงตนหนา

ทางเลือกน้อย ในบางครั้ง บางเวลา

กทม. นั้นหนา หาใช่ไม่ดี

วิ่งเข้าหา โอกาส สร้างมันขึ้น

สักวันนึง มันจะดี เมื่อฉันพร้อม

ให้ประหยัด ให้อดทน และเก็บออม

เมื่อวันพร้อม ฉันจะสานฝัน กันต่อไป ...

^-^ ขอให้โชคดี สำหรับเด็กนิสิตนักศึกษาทุกมหาลัย ที่กำลังจะจบในปีนี้ มุ่งหน้า สานฝัน สร้างชาติ ตามกำลังและโอกาส ...ณ เกียวโต วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2554 ^-^

กลอนนี้แต่งไว้ ด้วยแรงบันดาลใจที่ว่า เด็กบางคนมาบอกกับผมว่าไม่อยากเข้ากรุงเทพ ด้วยเหตุผลต่างๆนานา กลัวนู้นบ้าง นี้บ้าง ผมก็เลยบอกกล่าวไปว่า ภาพที่เห็นกับสิ่งที่เป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ในเมือรอบนอกมันยังมีโอกาสจำกัด เราไปแสวงหาโอกาส แล้วพัฒนาตนเองกันเถอะ ^^ ขอให้โชคดีค๊าบ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

กินเนื้อย่างที่ซันโจ



...

กิวนิคุ กินเนื้อย่าง อย่างสนุก

เนื้อหมูคลุก น้ำจิ้มหวาน ย่างถ่านร้อน

แกล้มสลัด น้ำจิ้มเค็ม กินคั่นตอน

วันผักผ่อน เพื่อนพี่น้อง พ้องเกียวได...

^-^++กินเนื้อย่างตรงซันโจใกล้ๆสตาบัค ชั้นสามตรงสะพานข้ามคาโม่ จำชื่อร้านไม่ได้ แต่อิ่มมั่กๆ ค๊าบ วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554 ภัทร บุ๋ม รุท พี่เปิ้ล พั้นช์ เปิ้ล ยาง++^-^


วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของฮ่องกง

ภาพพายุไต้ฝุ่น Yutu เมื่อวันที่ 25 July 2001

ปัจจุบันหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของแต่ละประเทศได้ก้าวหน้า และพัฒนาไปพอสมควร ของฮ่องกงก็มีหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา Hong kong Observatory ใช้ข้อมูลทางด้านอุตุที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาพดาวเทียม เรดาห์ตรวจอากาศ เป็นต้น

มีลิงค์ที่น่าสนใจหลากหลาย
  1. Weather Radar Observations In Hong Kong ข้อมูลความรู้เบื้องต้นของเรดาห์
  2. Radar Image Gallery รวมรูปภาพเรดาห์ของเหตุการณ์ที่สำคัญตั้งแต่อดีตตั้งแต่ตั้งหน่วยงาน ภาพอุปกรณ์
  3. Weahter Chart MTSAT ที่ซ้อนทับด้วยข้อมูลสถานีตรวจอากาศ Weather Chart

กิจกรรมสันทนาการเรื่องลมฟ้าอากาศ


ทางเวบไซต์ NOAA ได้จัดทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ เรื่องลมฟ้าอากาศ อุตุนิยมวิทยา มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายเรื่อง เช่น กิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแผนที่ลมฟ้าอากาศ การแบ่งประเภทเมฆ การทำแผนที่ความกดอากาศ หยดน้ำในเมฆมีปริมาณเท่าไหร่

ลิงค์ที่น่าสนใจได้แก่
ลิงค์หลัก Jetstream Learning Lessons
  1. The Ocean Learning Lessons
  2. Global Weather Learning Lessons
  3. Synoptic Meteorology Learning Lessons ลิงค์ตัวนี้น่าสนใจมีกิจกรรมเรียนรู้แผนที่ลมฟ้าอากาศ
  4. Thunderstorm Learning Lessons
  5. The Atmosphere Learning Lessons
  6. Understanding weather map อันนี้ชอบส่วนตัว สอนวิธีการสร้างแผนที่ลมฟ้าอากาศ

เรดาห์ตรวจอากาศ NOAA


National Weather Service-NOAA ให้บริการข้อมูลทางด้านลมฟ้าอากาศแก่ประชาชนของอเมริกาคล้ายกับกรมอุตุนิยมวิทยาบ้านเรา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีข้อมูลเรดาห์ตรวจอากาศภาคพื้นดิน ให้บริการด้วย สามารถหาความรู้เบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านข้อมูลเรดาห์ หลักการตรวจอากาศเบื้องต้นด้วยเรดาห์ ชนิดภาพเรดาห์ที่ให้บริการ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

เวบแมปแสดงจุดเกิดแผ่นดินไหวใกล้แม่สาย


เวบแสดงแผ่นดินไหวที่แม่สาย และอาฟเตอร์ช็อค

ทางเหนือของแม่สายแผ่นดินไหว 6.7 ริคเตอร์

...

ห่างออกไป จากแม่สาย ไม่ไกลนัก

เจอเหตุหนัก แผ่นดินไหว กระจายทั่ว

ข่าวรายงาน เหมือนเชียงราย จะน่ากลัว

ขอทุกครัว เรือนรอดปลอดภัยเอย ...

^_^ +++แผ่นดินไหวห่างจากแม่สายไปทางเหนือประมาณ 56 กม. 6.7 ริคเตอร์ USGS

เวลา 20.55 คืนวันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2554+++ ^_^


=====================

พี่เล็ก อาจารย์เรจินา แคนาดา ก็ประพันธ์มาฝากด้วยครับ

ห่างออกไป ไม่ไกลนัก จากแม่สาย

ทั้งเชียงราย เชียงใหม่ ไหวกันทั่ว
อยู่ห่างไกล แค่ได้ยิน ยังหวาดกลัว
ทุกครอบครัว จงปลอดภัย ไม่เบียดเบียน

...อ่าน Facebook นึกสนุก อยากประพันธ์
สามสี่วัน ได้อ่านกลอน ที่ยางเขียน
ไปญี่ปุ่น แล้วแปลงร่าง จากนักเรียน
เป็นนักเขียน บทกวี ทุกวี่วัน


ขอบคุณครับ


เครื่องมือแปลงพิกัดจาก lat/long สู่ UTM (vice versa)

วันนี้วุ่นทั้งวันในการหาโค้ดและอัลกอริทึมในการแปลงค่าพิกัดสถานีตรวจอากาศที่มีพิกัดจาก geographic system เป็น UTM ปกติก็ใช้แต่โปรแกรมสำเร็จรูป GIS แต่ตอนนี้ต้องการดูโค้ดฟอร์แทน หายากจริงๆ แต่ก็ได้ข้อมูลหลายเรื่อง หนังสือดีๆที่ควรจะอ่านด้าน Map projection

  • Snyder, J. P., 1987; Map Projections - A Working Manual. U.S. Geological Survey Professional Paper 1395, 383 p.
  • Army, Department of, 1973; Universal Transverse Mercator Grid, U. S. Army Technical Manual TM 5-241-8, 64 p.

ส่วนเวบไซต์สำหรับการแปลงค่าพิกัดก็มีหลากหลายให้ได้ใช้ในปัจจุบัน ส่วนความน่าเชื่อถือนั้นก็คงต้องลองผิดถูกไป ถ้าจำเป็นต้องใช้ด่วนๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก เพราะไม่มีทางเลือกแล้วนิ ^^

เวบไซต์ให้บริการแปลงค่าพิกัดฟรี
  1. http://leware.net/geo/utmgoogle.htm แปลงพิกัดให้ใช้ได้กับ google และยังสามารถแปลงได้ทีละหลายจุดด้วย
  2. http://www.earthpoint.us/Convert.aspx แปลงพิกัดให้ใช้ได้กับ google ทีละจุด
  3. http://www.rcn.montana.edu/resources/tools/coordinates.aspx แปลงได้ทีละจุด
  4. http://home.hiwaay.net/~taylorc/toolbox/geography/geoutm.html แปลงได้ทีละจุด

หากอยากทำความเข้าใจในเรื่องการแปลงค่าพิกัดให้มากยิ่งขึ้นต้องเวบข้างล่างนี้
  1. http://www.uwgb.edu/dutchs/UsefulData/UTMFormulas.htm มี Exel ให้ดาวน์โหลดไปใช้แปลงค่า พร้อมกับอธิบายหลักการแปลงค่า
  2. http://www.linz.govt.nz/geodetic/conversion-coordinates/projection-conversions/transverse-mercator-preliminary-computations/index.aspx เป็นหน่วยงานของสำรวจของนิวซีแลนด์อธิบายเรื่องสมการที่ใช้ในการแปลงค่า projection transformation อย่างละเอียด
  3. http://www.uwgb.edu/dutchs/FieldMethods/UTMSystem.htm หลักการเส้นโครงแผนที่
  4. http://www.uwgb.edu/dutchs/UsefulData/UTMFormulas.htm หลักการแปลง degree to UTM พร้อมสมการอย่างละเอียด
  5. http://geology.isu.edu/geostac/Field_Exercise/topomaps/utm.htm หลักการเส้นโครงแผนที่ อย่างง่าย
  6. http://www.koordinaten.com/informations/formula.shtml หากต้องการหาระยะทางในพิกัดภูมิศาสตร์สามารถใช้สูตรนี้ได้ แต่ความถูกต้องจะไม่ได้เท่าที่ควรเพราะไม่ได้คำนึงถึงสัณฐานของโลก
  7. http://www.epsg.org/guides/docs/G7-2.pdf ของหน่วยงานEPSG เอกสารอธิบายเส้นโครงแผนที่ชนิดต่างๆ การแปลงค่าพิกัด Coordinate Conversions and Transformations including Formulas อย่างละเอียด มีตัวอย่างให้ดูตรวจเช็คได้ สูตรพร้อม ****
โปรแกรม Geotran ดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี
http://earth-info.nga.mil/GandG/geotrans/index.html

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ระดับความรุนแรงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมา


เหตุการณ์ความรุนแรงของการรั่วไหลของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมา ได้มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน International Atomic Energy Agency (IAEA) คอยตรวจดูระดับความรุนแรงและได้ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งข้อมูลจากเวบไซต์ที่เผยแพร่ ณวันที่ 18 มีนาคม 2554 นั้นจัดระดับความรุนแรงของแต่ละเตาปฏิกรณ์แตกต่างกันไปตามมาตราฐานของ The International Nuclear and Radiological Event Scale (INES) ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงของหน่วยงาน IAEA

เนื่องจากมี 6 ยูนิต ระดับความรุนแรงจะถูกจัดแตกต่างกันไปตามเหตุการณ์ แต่ในภาพรวมณ วันที่ 18 ยังถูกจัดให้อยู่ในระดับ 5 จากทั้งหมด 7 ระดับ นั่นคือ
- โดยยูนิตหมายเลข 1-3 อยู่ในระดับ 5
- ยูนิตหมายเลข 4 อยู่ในระดับ 3
- ยูนิตหมายเลข 5-6 อยู่ในระดับปลอดภัย

การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีฟุกุชิมา

ประเด็นร้อนของการแพร่กระจายของสารกัมตรังสี ทั้งไอโอดีน 131 และซีเซี่ยม137 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมา แม้ว่าจะไม่ระเบิด แต่ก็ร้ายแรงไม่แพ้การระเบิดเพราะมีการปล่อยและมีการรั่วของสารกัมมันตรังสีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าหมายเลขสาม มี blog หนึ่งที่พูดถึงเรืองการแพร่กระจายของสาร โดยใช้ข้อมูลลมเจทชั้นบนและข้อมูลจาก International Atomic Energy Agency (IAEA) แต่ผมไม่รับประกันความถูกต้องนะครับ เอามาให้ดูเป็นแบบจำลองเล่นๆ หากสนใจลองเข้าไปดูบล๊อกของเค้าได้ครับ http://blog.alexanderhiggins.com/net2/japan-nuclear-plume-radiation-map.aspx นี่เป็นเวบไซต์หลักที่จำลอง Iodine กับ Cesium ว่าจะแพร่กระจายไปทิศทางใดครับ weather online

กระแสลมเจ็ต Jetstream


หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมาได้รับผลกระทบจากสึนามิและแผ่นดินไหวเมื่อ 11 มีนาคม 2554 ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา แต่ประเทศที่เป็นกังวลดูเหมือนจะเป็นอเมริกา เนื่องจากกระแสลมเจทที่อยู่ชั้นบนของชั้นโทโปสเฟียร์ ที่พัดจากตะวันตกไปตะวันตก พูดง่ายๆ จากญี่ปุ่นบินตรงไปยังอเมริกาเลยแหละ แต่ผลกระทบจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูต่อไป ไม่รู้ว่า ซีเซี่ยมจะไปถึงจนส่งผลกระทบรุนแรงหรือไม่ แต่ที่เชอร์โนบิลยังปลิวไปทั่วยุโรป ปัจจุบันยังพบตกค้างในแถบสกอตแลนด์น่ะครับ ถ้าใครสนใจลองเข้าไปดูแอนนิเมทใน http://www.stormsurfing.com/cgi/display_alt.cgi?a=npac_250 ได้ครับ